6

บทสัมภาษณ์: Epson นวัตกรรมการพิมพ์ดิจิตอลบนสิ่งทอ

ด้วยเทคโนโลยีการพิมพ์สิ่งทอแบบอิงค์เจ็ตที่ทันสมัย ​ Epson มีเป้าหมายที่จะไม่เพียงแค่เปลี่ยนโฉมอุตสาหกรรมสิ่งทอเท่านั้น แต่ยังช่วยแก้ปัญหาทางสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการพิมพ์แบบดั้งเดิมอีกด้วย ในปัจจุบันเทคโนโลยีการพิมพ์เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับแบรนด์แฟชั่น เช่นเดียวกับการพิมพ์บนกระดาษที่เปลี่ยนจากออฟเซตเป็นแบบดิจิตอล เช่นเดียวกับการพิมพ์บนสิ่งทอในอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มกำลังจะถูกเปลี่ยนแปลงด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งส่วนใหญ่ขับเคลื่อนโดยบริษัทต่างๆ เช่น Seiko Epson และเทคโนโลยีอิงค์เจ็ทที่ทันสมัย  ในบทความนี้เราจะพบกับคำถามและคำตอบ ของผู้สัมภาษณ์ Nobuyasu Tanaka — ตัวแทนของ Sun Messe Innovative Network Center (Sinc) กับผู้ให้สัมภาษณ์คือคุณ Kazumi Okuzono ผู้จัดการทั่วไปของ Strategic Planning และ IIJ Sales & Marketing สำหรับแผนกการพิมพ์ของ Epson ที่เรามักจะรู้จักกันในแบรนด์เครื่องพิมพ์ระดับโลก การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยเทคโนโลยียุคใหม่ คำถาม: นอกเหนือจากการพัฒนานวัตกรรมและคุณภาพการพิมพ์อิงค์เจ็ทแล้ว ยังมีวิธีแก้ไขปัญหาสังคมหรือสิ่งแวดล้อมประเภทใดบ้าง ? ผ่านการพิมพ์ดิจิทัล ในธุรกิจการพิมพ์สิ่งทอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม มีความจำเป็นต้องปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงานและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม มีการชี้ให้เห็นถึงผลกระทบต่างๆ ต่อห่วงโซ่อุปทาน เช่นการพิมพ์แบบอนาล็อก(ต่อไปขอเรียกว่าการพิมพ์แบบเดิม) ในการพิมพ์หนึ่งครั้งจะถูกพิมพ์ออกมาเกินยอดที่ต้องการตามความจริง เนื่องมาการพิมพ์แบบเดิมจะต้องตั้งยอดพิมพ์ค่อนข้างสูงเพราะมีต้นทุนในเรื่องของคนงานและแบบพิมพ์ที่สูงตามไปด้วย เพิ่มเติ่มจากที่กล่าวมาทรัพยากรพลังงานและน้ำจำนวนมากจะถูกใช้ไปกับขั้นตอนที่ซับซ้อนของกระบวนการพิมพ์แบบเดิม แต่การพิมพ์แบบดิจิทัลสามารถช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้ […]

3

LanzaTech จับมือ lululemon ผลิต “ผ้า” ชิ้นแรกจากกระบวนการ รีไซเคิลคาร์บอน

จากเอทานอล สู่ “โพลีเอสเตอร์” บริษัทเทคโนโลยีชีวภาพ LanzaTech ประกาศในวันนี้ว่าได้ร่วมมือกับ lululemon athletica inc. (NASDAQ:LULU) บริษัทเครื่องแต่งกายสำหรับกีฬา เพื่อสร้างเส้นด้ายและผ้าผืนแรกของโลกโดยกระบวนการรีไซเคิลคาร์บอนหรือที่รู้จักกันในชื่อ recycled carbon emissions โดยเริ่มต้นจากการผลิตเอทานอลจากแหล่งคาร์บอนที่เป็นของเสียและทำงานร่วมกันกับสถาบัน India Glycols Limited (IGL) และ Far Eastern New Century (FENC) เพื่อเข้าสู่การแปลง “เอทานอล” เป็น “โพลีเอสเตอร์” การรีไซเคิลคาร์บอนเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของการดำเนินธุรกิจในโลกปัจจุบัน เราต้องคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม การลดการปล่อยคาร์บอนสำหรับทำ โพลีเอสเตอร์ (Polyester) จะช่วยเพิ่มผลลัพธ์ในการลด Carbon Footprint ได้เป็นอย่างดี แหล่งฟอสซิลบริสุทธิ์ Jennifer Holmgren ซีอีโอของ LanzaTech กล่าวว่า “เราต้องเปลี่ยนวิธีที่เราจัดหา ใช้ และกำจัดคาร์บอนอย่างสิ้นเชิง การรีไซเคิลคาร์บอนช่วยให้บริษัทอย่าง lululemon สามารถย้ายออกจากแหล่งฟอสซิลที่บริสุทธิ์ นำความหมุนเวียนมาสู่ผลิตภัณฑ์ของตน และบรรลุเป้าหมายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเกี่ยวกับการลดคาร์บอน เราเรียกสิ่งนี้ว่า “CarbonSmart” Ted Dagnese

2

จากขยะทางการเกษตรสู่ วัตถุดิบบนรันเวย์แฟร์ชั่นวีค

ขยะจากการเกษตร จากงานวิจัยล่าสุดของสถาบัน ISC หรือ Institute for Sustainable Communities ระบุว่านอกจากใยฝ้ายที่นำมาใช้เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตสินค้าสิ่งทอแล้ว ฟางข้าว,ก้านกล้วยและขยะทางการเกษตรที่ไม่เป็นที่ต้องการในไร่น่า อาจจะสามารถเป็นที่ต้องการบนรันเวย์แฟร์ชั่นได้ งานวิจัยจาก Laudes Foundation ได้ศึกษาพืชผลมากกว่า 40 ชนิดที่สามารถนำไปผลิตเส้นใยสำหรับวงการแฟชั่น การหาวัตถุดิบทนแทนจากของเสียที่ไม่ต้องถูกทำลาย Anita Chester หัวหน้าฝ่ายวัสดุ ขององค์กร Laudes Foundation กล่าวว่า “เพื่อลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลที่เพิ่มมากขึ้น จากการเผาทำลายขยะ อุตสาหกรรมแฟชั่นสามารถจัดลำดับความสำคัญและเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบหมุนเวียนจากการมองหาแนวทางการผลิตวัตถุดิบใหม่ๆ “ เราเล็งเห็นว่ามีโอกาสที่น่าสนใจในการสร้างมูลค่าจากขยะทางการเกษตร รายงานนี้พิจารณาให้เห็นถึงศักยภาพมหาศาลของขยะเกษตรในฐานะวัตถุดิบที่เป็นไปได้สำหรับเส้นใยสิ่งทอ โดยไม่ได้ระบุเพียงแค่ความเหมาะสมเท่านั้น แต่ยังรวมถึงจุดสำคัญด้วย เราหวังว่าสิ่งนี้จะช่วยแฟชั่น ทำงานร่วมกับอาหาร เพื่อเสริมสร้างสมดุลให้เป็นประโยชน์ต่อธรรมชาติและผู้คนในอนาคต”     การผลิตเส้นใยทั่วโลกสูงถึง 100 ล้านตันต่อปี การผลิตเส้นใยทั่วโลกสูงถึง 100 ล้านตันต่อปีในปี 2564 และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีก กากทางการเกษตรสามารถผสมกับเส้นใยที่มนุษย์สร้างขึ้นและเส้นใยธรรมชาติเพื่อผลิตวัสดุที่เป็นนวัตกรรมใหม่ที่เรียกว่าเส้นใยสิ่งทอที่มีสารตกค้างจากการเกษตร เป็นที่ทราบกันดีว่าเส้นใยมีลักษณะคล้ายคลึงกับวัสดุที่มีอยู่ในอุตสาหกรรมแฟชั่น  ห่วงโซ่คุณค่าที่ยั่งยืนในระยะยาว ตามที่รายงานระบุ กระบวนการผลิตสิ่งทอในปัจจุบันมีผลกระทบร้ายแรงต่อสิ่งแวดล้อม เส้นใยที่ใช้ในเครื่องแต่งกายมากกว่า 60 เปอร์เซ็นต์เป็นเส้นใยน้ำมันและเป็นภาระต่อทรัพยากรธรรมชาติอันเนื่องมาจากการผลิตที่ไม่ได้รับการตรวจสอบและไม่ยั่งยืน ในทำนองเดียวกัน เส้นใยธรรมชาติ เช่น ผ้าฝ้ายธรรมดา ซึ่งเป็นเส้นใยสิ่งทอที่ใช้กันอย่างแพร่หลายเป็นอันดับสอง พึ่งพาการใช้สารเคมีทางการเกษตรและน้ำอย่างเข้มข้น นักวิจัยได้ศึกษาพืชผลมากกว่า 40

1

Beyond Leather สตาร์ทอัพจากเดนมาร์ค คิดค้นหนังที่ทำมาจากเศษแอปเปิ้ล (Leap)

Leap คืออะไร Leap คือหนังที่ให้ผิวสัมผัสเหมือนกับหนังวัวแต่ทำมาจากส่วนผสมของเศษแอปเปิ้ลจากการผลิตน้ำแอปเปิ้ล คำว่า leap มาจาก Leftover apples ที่มาของนวัตกรรมการผลิตหนังนี้เกิดขึ้นจากการต้องการสร้างวัตถุดิบหนังที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อธรรมชาติมากที่สุด  เราคิดค้นนวัตกรรม Leap ขึ้นมาเพื่อต้องการเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรม วัตถุดิบหนังให้ดีขึ้นกว่าเดิม Beyond Leather วัตถุดิบหนังในปัจจุบัน วัตถุดิบหนังที่เรามักพบเห็นบนเครื่องนุ่งห่มหรือกระเป๋า รวมทั้งเครื่องประดับบางชิ้น จะมาจากสัตว์หลากหลายชนิด ที่นิยมใช้กันส่วนมากมาจาก วัว หมู กระบือและแพะ เกิดจากการลอกหนังออกแล้วนำมา Tanning เพื่อซึมซับสารเคมี ให้แผ่นหนังเกิดความคงทนสามารถนำไปใช้ในขั้นตอนต่อไปได้การผลิตวัตถุดิบหนัง จะประกอบด้วย 3 ส่วนหลักๆได้แก่การ การเตรียมการ การฟอกหนัง การตกแต่ง จากขั้นตอนที่เราเห็น จะสังเกตได้ว่าการฟอกหนังถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุด การฟอกหนังช่วยรักษาคอลลาเจนและโปรตีนเคราตินในผิวหนัง ทำให้หนังมีความยืดหยุ่น และป้องกันไม่ให้ผิวแห้ง ในระหว่างกระบวนการนี้ หนังจะถูกแช่ในน้ำยาฟอกหนังที่ค่อยๆ ซึมผ่านความหนาทั้งหมดของหนัง ในขั้นตอนสุดท้าย วัสดุจะถูกทำให้บางลง มีสี แห้ง และนุ่มขึ้นด้วยวิธีการทางเคมีและทางกล หลังจากนี้ หนังอาจได้รับการเคลือบพื้นผิว เคลือบน้ำมัน ขัดเงา หรือลายนูน แล้วจึงควรไปที่ผู้ผลิต การผลิตหนังแบบเดิม ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไร เมื่อเราพูดถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม